เป็นกระแสอีกครั้ง นิรโทษกรรม เทียบ พรบ ก้าวไกลและเพื่อไทย สนับสนุนโดย u31 เป็นคำพูดที่กลับมาถูกพูดถึง อีกครั้งในวงการการเมือง สำหรับเรื่องราวของ พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม จากที่คำคำนี้เคยเป็น คำยอดฮิตในสมัยรัฐบาล ของคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และในวันนี้พระราชบัญญัตินี้ กลับมาอีกครั้ง แต่ไม่ได้กลับมา ในนามของพรรคเพื่อไทย เพราะว่า พระราชบัญญัติฉบับนี้ กลับมาในนามของ พรรคก้าวไกล ส่งผลให้สังคม ตั้งคำถามเป็นอย่างมาก ว่าพระราชบัญญัติตัวนี้มัน จะเหมาเข่งซ้ำรอยกับ พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ที่พรรคเพื่อไทยเคยคิดเอาไว้ไหม และต้องการมีจุดประสงค์ อะไรทำไม ถึงต้องดันพระราชบัญญัติตัวนี้ด้วย เราสามารถอ่านทั้งหมดได้ใน Twitter ด้วยนะ กลับไปติดตาม ไอดอลนักวิทย์ โดนเเฉ ใดๆในโลกล้วนฟิสิกส์ โดยที่พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม จะเป็นการยกโทษ ความผิดทางอาญา ที่บุคคลได้กระทำ ไปแล้วทางการเมือง

นิรโทษกรรม
กลับมาเป็นประเด็น

นิรโทษกรรม เทียบ พรบ ก้าวไกลและเพื่อไทย

ต่างกันอย่างไร ใครได้ใครเสีย

ซึ่งการนิรโทษกรรม จะไม่เท่ากับ การอภัยโทษ เพราะว่าการอภัยโทษ คือการที่เรา ทำผิดไปแล้ว รับผิดไปแล้ว เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เรียบร้อยแล้ว และหลังจากนั้น ถึงจะได้รับการยกโทษให้ แต่การนิรโทษกรรม  จะทำให้เราไม่มีความผิด ติดตัวไปใดใด ตั้งแต่เริ่มต้น 

แต่ทีนี้ในสังคมไทย ถ้าเราพูดถึง พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม เราจะนึกถึงมัน ในแง่ที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่เพราะว่าปี 2556 รัฐบาลของ คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มีการผ่าน ร่างกฏหมาย พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม หรือที่ถูกเรียกอีกชื่อว่า พรบนิรโทษกรรมเหมาเข่ง

และพระราชบัญญัติฉบับนี้เอง ก็เป็นสาเหตุ ที่ทำให้คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องลาออก เนื่องจากประชาชน มองว่าพระราชบัญญัติตัวนี้ เขียนขึ้น เพื่อช่วยเหลือคุณทักษิณ ที่โดนคดีอาญาอยู่ เพราะฉะนั้น สำหรับคนไทยกฎหมายฉบับนี้ คนไทยเลยมองว่า เป็นของไม่ดีที่มีไว้เพื่อช่วย ให้พวกพ้องพ้นผิดซึ่งจริงๆ

นิรโทษกรรม
ข่าวปลอมมากมาย

มันไม่ได้เป็นแบบนั้น เสมอไป ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ของพระราชบัญญัติ มากกว่า อย่างกรณีเหตุการณ์ หกตุลามี การสังหารหมู่ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักศึกษาหลายคนหนีเข้าป่า เพื่อเอาชีวิตรอด นักศึกษาพวกนั้น ถือว่ามีความผิด ทางการเมืองหลายคดี แต่สุดท้ายแล้วก็ได้กฎหมายฉบับนี้นี่แหละ ที่พาเหล่านักศึกษาเหล่านั้น ออกมาจากป่าออกมาใช้ชีวิต

ตามปกติเหมือนเดิม ซึ่งในตอนแรก ที่เพื่อไทยเอากฎหมายฉบับนี้ เข้าสภา เป็นพระราชบัญญัติ ที่ถูกเขียนมา เพื่อประชาชนจริงๆ พอจำไม่เอาผิด กับประชาชนที่มาร่วมชุมนุม แต่จะเอาผิด กับแกนนำ และผู้สั่งการแต่พอกฎหมายนี้ เข้าสภามัน มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระ ไปเยอะมาก ตั้งแต่ส่งผลให้พระราชบัญญัติตัวนี้ มีผลตั้งแต่ปี 2547 ถึงปี 2556 จึงเกิดเป็น เหตุการณ์ต่างๆนาๆ วุ่นวายตามมา